ครั้งที่13 วันพฤหัสบดี ที่30 กันยายน 2553

วันนี้ได้นำลังกระดาษมา อาจารย์ได้อธิบายให้ทำเป็นหน่วยอะไรก็ได้ส่งในชั่วโมง โดยมีอุปกรณ์ให้
ข้าพเจ้าได้ทำ หน่วย...สัตว์ (ไม่ได้ถ่ายรูปผลงาน)และทำแบบประเมินอาจารย์ผู้สอน

วันที่12 วันพฤหัสบดี ที่23 กันยายน 2553

วันนี้อาจารย์ให้ส่งแป้งโดว์และอุปกรณ์ที่ใช้เล่นกับแป้งโดว์ พร้อมให้นำเอาลังกระดาษมาในวันพฤหัสบดีหน้า

ครั้งที่11 วันพฤหัสบดี ที่16 กันยายน 2553

วันนี้ได้มีการทำแป้งโดว์และเตรียมอุปกรณ์ในการทำแป้งโดว์ในห้องเรียน



ส่วนประกอบ



1.เกลือ 1 / 2 ถ้วย



2.แป้งสาลี 1 ถ้วย



3.สารส้มป่น 2 ช้อนโต๊ะ



4.น้ำ 1 ถ้วย



5.ทาทาครีม 1 ช้อนโต๊ะ หรือใช้น้ำมันมะกอก



6.สีผสมอาหาร



วิธีทำ



นำเกลือแป้งสาลี และ สารส้มป่นผสมให้เข้ากัน จากนั้นค่อยเติมน้ำและน้ำมันทีละน้อยให้เข้ากันดีคนไปเลื่อย แล้วใส่สีผสมอาหารนำขึ้นตั้งไฟกวนจนแป้งไม่ติดภาชนะพอได้ที่แล้วก็นำออกมานวดให้แป้งเป็นเนื้อเดียวกัน เก็บไว้ในภาชนะให้เรียบร้อย ไม่ต้องเเช่ตู้เย็น

ครั้งที่10 วันพฤหัสบดี ที่9 กันยายน 2553

วันนี้ได้ส่งงาน pop up อาจารย์ และส่งเกมการศึกษา เกมจับคู่ภาพและเงา(ไม่ได้ถ่ายผลงาน)

ครั้งที่9 วันพฤหัสบดี ที่2 กันยายน 2553

วันนี้อาจารย์ได้นัดมาเรียนด้วยกันสองกลุ่ม เพื่อศึกษาเกมการศึกษาและลองเล่น โดยให้แบ่งกลุ่มศึกษาเกมการศึกษาแต่ละชนิด ซึ่งมีความยากง่ายต่างกัน

ครั้งที่8 วันพฤหัสบดี ที่19 สิงหาคม 2553

ได้เข้าอบรมเกี่ยวกับสื่อโดยมีวิทยากร2ท่านและอาจารย์จินตนา ได้ให้ความรู้ในการทำสื่อต่างๆ เช่น pop up
เกมจับคู่ เกมโดมิโน เกมความสัมพันธ์สองแกน ตัวเชิด และอื่นๆ

ครั้งที่7 วันพฤหัสบดี ที่29 กรกฎาคม 2553

วันนี้ฝนตก และอาจารย์มีธุระจึงได้ให้งานนักศึกษาไปทำโครงร่างเกมการศึกษาโดยห้ามซ้ำกัน


ชื่อเกม

เกมจับภาพคู่และเงา

ทักษะประสบการณ์ที่เด็กได้รับ

1.รู้จักการสังเกตและจำแนกสิ่งของ

2.สมาธิ

3.รู้จักการเปรียบเทียบ

4.เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินและผ่อนคลาย

5.สอคคล้องกับประสาทสัมพันธ์ระหว่างกล้ามเนื้อเล็กกับมือ


วัสดุที่ใช้

1.กระดาษแข็ง

2.กาว

3.กระดาษสี

4.กรรไกร

5.ดินสอสี

6.กระดาษก๊อปปี้

7.รูปภาพ


วิธีเล่น

1.จับภาพที่เป็นรูปเงามาวางเข้าคู่ที่มีภาพจริงติดอยู่

2.ตรวจสอบความถูกต้อง

3.ให้คะแนนหรือคำชม



ครั้งที่6 วันพฤหัสบดี ที่22 กรกฎาคม 2553


วันนี้ข้าพเจ้าได้แนวคิดเรื่องเกมการศึกษา ซึ่งมีความหลากหลาย เช่น เกมต่อเติมรูป เกมจิ๊กซอว์ เกมต่อแบบอนุกรม แบบพับ และแบบเกมอื่นๆ

#ความสำคัญ #
1.ทำให้สิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรม
2.ได้ประสบการณ์ตรง จำได้นาน
3.รวดเร็ว เพลิดเพลิน เข้าใจง่าย

#ลักษณะสื่อที่ดี#
1.ต้องมีความปลอดภัย
2.ประโยชน์ที่เด็กได้รับเหมาะสมกับความสามารถของเด็ก ความสนใจ
3.ระหยัด
4.ประสิทธิภาพ
5.หลักการเลือกสื่อ
6.คุณภาพดี
7.เด็กเข้าใจง่าย
8.เลือกให้เหมาะกับสภาพของศูนย์
9.เหมาะสมกับวัย
10.เหมาะสมกับเวลาที่ใช้เด็กได้มีส่วนร่วมในกิจกรรม
11.ถูกต้องตามเนื้อหา ทันสมัย
12.เด็กได้คิดเป็นทำเป็น กล้าแสดงออก

#ประเมินการใช้สื่อ#
1.สื่อช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้เพียงใด
2.เด็กชอบสื่อชนิดนี้เพียงใด
3.สื่อช่วยสอนตามจุดประสงค์หรือไม่

ครั้งที่5 วันพฤหัสบดี ที่15 กรกฎาคม 2553



นำเสนอสื่อใช้
ชื่อสื่อ => ลวดดัด
เหมาะสำหรับ=> เด็กที่มีอายุตั้งแต่ 4 ขวบขึ้นไป
วิธีการเล่น=> ดัดให้เป็นรูปทรงต่างๆ
วัตถุประสงค์=> เพื่อให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์ และเกิดการสัมพันธ์ระหว่างกล้ามเนื้อเล็กกับตา
ข้อควรระวัง=> สื่อชนิดนี้อาจเป็นอันตรายกับเเด็ก เพราะเป็นของแหลม
ข้อเสนอแนะของอาจารย์
บางทีเด็กยังไม่สามรถจินตนาการได้ว่าจะดัดเป็นรูปทรงอย่างไร ควรที่จะดัดให้เป็นรูปเสียก่อน เช่นดัดให้เป็นรูปวงกลมติดลงในกระดาษ แล้วให้เด็กต่อเติมเป็นรูปตามจินตนาการของเด็ก เช่นเป็นรูปสุนัข แมว พระอาทิตย์ ดอกไม้ เป็นต้น






ครั้งที่ 4 วันพฤหัสบดี ที่8 กรกฎาคม 2553



การแบ่งประเภทของสื่อ
กรวย11ประการ ตามแนวคิดของเอ็ดการ์ เดล
1.ประสบการณ์ตรง เป็นประสบการณ์ขั้นที่เป็นรูปธรรมมากที่สุด โดยให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์โดยตรงจากของจริง สถานการณ์จริง
2.ประสบการณ์รอง เป็นการเรียนรู้โดยการให้ผู้เรียนเรียนจากสิ่งที่ใกล้เคียงความเป็นจริงที่สุดซึ่งอาจเป็นของจำลอง หรือสถานการณ์จำลอง
3.ประสบการณ์นาฎการหรือการแสดง เป็นบทบาทสมมุติหรือการแสดงละคร เพื่อจัดประการณ์ให้แก่ผู้เรียนในเรื่องที่มีข้อจำกัดด้วยยุคสมัย
4.การสาธิต เป็นการแสดงหรือการกระทำการประกอบคำอธิบายเพื่อให้เห็นลำดับขั้นตอนของการกระทำนั้น
5.การศึกษานอกสถานที่ เป็นการให้ผู้เรียนได้ประสบการณ์ต่างๆภายนอกสถานที่เรียน อาจเป็นการท่องเที่ยวการเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ หรือการสัมภาณ์เหล่านี้เป็นต้น
6.นิทรรศการ เป็นการจัดแสดงสิ่งของต่างๆ การจัดป้ายนิเทศเพื่อให้สาระประโยชน์ และความรู้แก่ผู้ชม
7.โทรทัศน์ โดยใช้โทรทัศน์การศึกษาและโทรทัศน์เพื่อการเรียนการสอน เพื่อให้ความรู้แก่ผู้เรียนหรือผู้ชมที่อยู่ในห้องเรียนอยู่ทางบ้าน และใช่ส่งได้ทั้งระบบวงจรเปิดและวงจรปิด
8.ภาพยนต์ เป็นภาพเคลื่อนไหวที่บันทึกเรื่องราว เหตุการณ์ลงบนฟิล์ม เพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ทั้งภาพและเสียง
9.การบันทึกเสียง วิทยุ ภาพนิ่ง เป็นได้ทั้งในรูปของแผ่นเสียงหรือภาพบันทึก
10.ทัศนสัญลักษณ์ เช่น แผนที่ แผนสถิติ หรือเครื่องหมายต่างๆ
11.วจนสัญลักษณ์ เป็นประสบการณ์ขั้นนามธรรมมากที่สุด ได้แก่ ตัวหนังสือในภาษาเขียนและเสียงของคำพูดในภาษาพูด

ครั้งที่ 3 วันพฤหัสบดีที่ 1 กรกฏาคม 2553

วันนี้อาจารย์ได้พูดถึงสื่อการเรียนการสอนของเด็กปฐมวัยและพูดถึงความหมายของสื่อซึ่งหมายถึงอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้เป็นสื่อในการเรียนการสอนอาจจะเป็นวัสดุ เครื่องมือ กิจกรรมและเทคโนโลยี อื่นๆเป็นต้น อาจารย์ได้ยกตัวอย่างเกี่ยวกับสื่อการเรียนการสอนเช่น น้ำตกไหลลงสู่พื้นโดยเวลาอันสั้นและเกิดความคิดรวบยอด ซึ่งทำให้เข้าใจในการปฏิบัติและรู้จักสังเกต อาจารย์ได้สั่งให้กลับไปตกแต่งบล็อกเพิ่มเติมให้สวยงาม

ทฤษฎีของฟรอยด์



ฟรอยด์ (Freud, 1856-1939) เป็นชาวออสเตรีย เป็นคนแรกที่เห็นความสำคัญของพัฒนาการในวัยเด็ก ถือว่าเป็นรากฐานของ พัฒนาการของบุคลิกภาพ ตอนวัยผู้ใหญ่ สนับสนุนคำกล่าวของนักกวี Wordsworth ที่ว่า "The child is father of the man” และมีความเชื่อว่า 5 ปีแรกของชีวิตมีความสำคัญมาก เป็นระยะวิกฤติของพัฒนาการ ของชีวิตบุคลิกภาพของผู้ใหญ่ มักจะเป็นผลรวมของ 5 ปีแรก ฟรอยด์เชื่อว่า บุคลิกภาพของผู้ใหญ่ ที่แตกต่างกัน ก็เนื่องจากประสบการณ์ของแต่ละคน เมื่อเวลาอยู่ในวัยเด็ก และขึ้นอยู่กับว่าเด็กแต่ละคน แก้ปัญหาของความขัดแย้งของแต่ละวัยอย่างไร ทฤษฎีของฟรอยด์มีอิทธิพลทางการ รักษาคนไข้โรคจิต วิธีการนี้เรียกว่า จิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis) โดยให้คนไข้ระบายปัญหาให้จิตแพทย์ฟัง
ทฤษฎีของฟรอยด์อาจจะกล่าวหลักโดยย่อดังต่อไปนี้

ฟรอยด์ได้แบ่งจิตของมนุษย์ออกเป็น 3 ระดับ คือ

1.จิตสำนึก (Conscious)

2.จิตก่อนสำนึก (Pre-conscious)

3.จิตไร้สำนึก (Unconscious)
เนื่อง จากระดับจิตสำนึก เป็นระดับที่ผู้แสดงพฤติกรรมทราบ และรู้ตัว ส่วนเนื้อหาของระดับ จิตก่อนสำนึก เป็นสิ่งที่จะดึงขึ้นมา อยู่ในระดับจิตสำนึก ได้ง่าย ถ้าหากมีความจำเป็นหรือต้องการ ระดับจิตไร้สำนึกเป็นระดับที่อยู่ในส่วนลึกภายในจิตใจ จะดึงขึ้นมาถึงระดับจิตสำนึกได้ยาก แต่สิ่งที่อยู่ในระดับไร้สำนึก ก็มีอิทธิพลต่อพฤติกรรม ฟรอยด์เป็นคนแรก ที่ได้ให้ความคิดเกี่ยวกับแรงผลักดันไร้สำนึก (Unconscious drive) หรือแรงจูงใจไร้สำนึก (Unconscious motivation) ว่าเป็นสาเหตุสำคัญของพฤติกรรม และมีอิทธิพลต่อบุคลิกภาพของมนุษย์

ฟรอยด์กล่าวว่า มนุษย์เรามีสัญชาติญาณติดตัวมาแต่กำเนิด และได้แบ่งสัญชาติญาณออกเป็น 2 ชนิดคือ

1) สัญชาติญาณเพื่อการดำรงชีวิต (Life instinct)
2) สัญชาติญาณเพื่อความตาย (Death instinct)

สัญชาตญาณ บางอย่าง จะถูกเก็บกดไว้ในจิตไร้สำนึก ฟรอยด์ได้อธิบายเกี่ยวกับสัญชาตญาณ เพื่อการดำรงชีวิตไว้อย่างละเอียด ได้ตั้งสมมติฐานว่า มนุษย์เรามีพลังงานอยู่ในตัวตั้งแต่เกิด เรียกพลังงานนี้ว่า "Libido” เป็นพลังงานที่ทำให้คนเราอยากมีชีวิตอยู่ อยากสร้างสรรค์ และอยากจะมีความรัก มีแรงขับทางด้านเพศ หรือกามารมณ์ (Sex) เพื่อจุดเป้าหมาย คือความสุขและความพึงพอใจ (Pleasure) โดยมีส่วนต่างๆ ของร่างกายที่ไวต่อความรู้สึก และได้เรียกส่วนนี้ว่า อีโรจีเนียสโซน (Erogenous Zones) แบ่งออกเป็นส่วนต่างดังนี้
- ส่วนปาก ช่องปาก (Oral)
- ส่วนทางทวารหนัก (Anal)
- และส่วนทางอวัยวะสืบพันธุ์ (Genital Organ)
ฉะนั้น ฟรอยด์กล่าวว่าความพึงพอใจในส่วนต่างๆ ของร่างกายนี้ เป็นไปตามวัย เริ่มตั้งแต่วัยทารก จนถึงวัยผู้ใหญ่ ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ขั้น คือ
1. ขั้นปาก (Oral Stage)
2. ขั้นทวารหนัก (Anal Stage)
3. ขั้นอวัยวะเพศ (Phallic Stage)
4. ขั้นแฝง (Latence Stage)
5. ขั้นสนใจเพศตรงข้าม (Genital Stage)


ครั้งที่ 2 วันพฤหัสบดี ที่24 มิถุนายน 2553

วันนี้ได้เรียนนิยามของสื่อ สื่อคืออะไร ซึ่งสื่อเป็นตัวกลางในการเรียนรู้ จากผู้สอน(อาจารย์)ส่งถึงไปยังผู้รับ(นักศึกษา) และได้จัดกลุ่ม5คนเพื่อตอบคำถามดังต่อไปนี้
1.เด็กปฐมวัยคือ เด็กที่มีอายุตั้งแต่แรกเกิด-6ปี
2.เราควรจะศึกษาเด็กปฐมวัยอย่างไรถึงจะรู้ว่าเด็กเป็นอย่างไร ศึกษาเด็กโดยการสังเกตพฤติกรรม
3.เด็กปฐมวัยเรียนรู้อย่างไร เรียนรู้จากสิ่งของจำลอง ในห้องเรียน สิ่งแวดล้อม และอื่นๆ
4.นักทฤษฎีที่รู้จก อิริคสัน เพียเจท์ บรูเนอร์ ฟรอยด์ แบนดูรา มอนเตสเซอรรี่ และอื่นๆ

ครั้งที่ 1 วันพฤหัสบดี ที่17 มิถุนายน 2553

วันนี้ได้เรียนเป็นวันแรก อาจารย์ได้สั่งให้ทำบล็อกแสดงผลงานแทนทำแฟ้ม เพื่อลดภาวะโลกร้อน ทำสมุดประวัติส่วนตัว อาจารย์ได้บอกรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องที่จะเรียน และมารยาท ความมีวินัย กฏระเบียบของมหาวิทยาลัย และอาจารย์ได้พูดถึงการเข้าห้องเรียน อาจารย์ได้พูดถึงความตั้งใจในห้องเรียน ความเข้าใจในการเรียน