ครั้งที่ 3 วันพฤหัสบดีที่ 1 กรกฏาคม 2553

วันนี้อาจารย์ได้พูดถึงสื่อการเรียนการสอนของเด็กปฐมวัยและพูดถึงความหมายของสื่อซึ่งหมายถึงอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้เป็นสื่อในการเรียนการสอนอาจจะเป็นวัสดุ เครื่องมือ กิจกรรมและเทคโนโลยี อื่นๆเป็นต้น อาจารย์ได้ยกตัวอย่างเกี่ยวกับสื่อการเรียนการสอนเช่น น้ำตกไหลลงสู่พื้นโดยเวลาอันสั้นและเกิดความคิดรวบยอด ซึ่งทำให้เข้าใจในการปฏิบัติและรู้จักสังเกต อาจารย์ได้สั่งให้กลับไปตกแต่งบล็อกเพิ่มเติมให้สวยงาม

ทฤษฎีของฟรอยด์



ฟรอยด์ (Freud, 1856-1939) เป็นชาวออสเตรีย เป็นคนแรกที่เห็นความสำคัญของพัฒนาการในวัยเด็ก ถือว่าเป็นรากฐานของ พัฒนาการของบุคลิกภาพ ตอนวัยผู้ใหญ่ สนับสนุนคำกล่าวของนักกวี Wordsworth ที่ว่า "The child is father of the man” และมีความเชื่อว่า 5 ปีแรกของชีวิตมีความสำคัญมาก เป็นระยะวิกฤติของพัฒนาการ ของชีวิตบุคลิกภาพของผู้ใหญ่ มักจะเป็นผลรวมของ 5 ปีแรก ฟรอยด์เชื่อว่า บุคลิกภาพของผู้ใหญ่ ที่แตกต่างกัน ก็เนื่องจากประสบการณ์ของแต่ละคน เมื่อเวลาอยู่ในวัยเด็ก และขึ้นอยู่กับว่าเด็กแต่ละคน แก้ปัญหาของความขัดแย้งของแต่ละวัยอย่างไร ทฤษฎีของฟรอยด์มีอิทธิพลทางการ รักษาคนไข้โรคจิต วิธีการนี้เรียกว่า จิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis) โดยให้คนไข้ระบายปัญหาให้จิตแพทย์ฟัง
ทฤษฎีของฟรอยด์อาจจะกล่าวหลักโดยย่อดังต่อไปนี้

ฟรอยด์ได้แบ่งจิตของมนุษย์ออกเป็น 3 ระดับ คือ

1.จิตสำนึก (Conscious)

2.จิตก่อนสำนึก (Pre-conscious)

3.จิตไร้สำนึก (Unconscious)
เนื่อง จากระดับจิตสำนึก เป็นระดับที่ผู้แสดงพฤติกรรมทราบ และรู้ตัว ส่วนเนื้อหาของระดับ จิตก่อนสำนึก เป็นสิ่งที่จะดึงขึ้นมา อยู่ในระดับจิตสำนึก ได้ง่าย ถ้าหากมีความจำเป็นหรือต้องการ ระดับจิตไร้สำนึกเป็นระดับที่อยู่ในส่วนลึกภายในจิตใจ จะดึงขึ้นมาถึงระดับจิตสำนึกได้ยาก แต่สิ่งที่อยู่ในระดับไร้สำนึก ก็มีอิทธิพลต่อพฤติกรรม ฟรอยด์เป็นคนแรก ที่ได้ให้ความคิดเกี่ยวกับแรงผลักดันไร้สำนึก (Unconscious drive) หรือแรงจูงใจไร้สำนึก (Unconscious motivation) ว่าเป็นสาเหตุสำคัญของพฤติกรรม และมีอิทธิพลต่อบุคลิกภาพของมนุษย์

ฟรอยด์กล่าวว่า มนุษย์เรามีสัญชาติญาณติดตัวมาแต่กำเนิด และได้แบ่งสัญชาติญาณออกเป็น 2 ชนิดคือ

1) สัญชาติญาณเพื่อการดำรงชีวิต (Life instinct)
2) สัญชาติญาณเพื่อความตาย (Death instinct)

สัญชาตญาณ บางอย่าง จะถูกเก็บกดไว้ในจิตไร้สำนึก ฟรอยด์ได้อธิบายเกี่ยวกับสัญชาตญาณ เพื่อการดำรงชีวิตไว้อย่างละเอียด ได้ตั้งสมมติฐานว่า มนุษย์เรามีพลังงานอยู่ในตัวตั้งแต่เกิด เรียกพลังงานนี้ว่า "Libido” เป็นพลังงานที่ทำให้คนเราอยากมีชีวิตอยู่ อยากสร้างสรรค์ และอยากจะมีความรัก มีแรงขับทางด้านเพศ หรือกามารมณ์ (Sex) เพื่อจุดเป้าหมาย คือความสุขและความพึงพอใจ (Pleasure) โดยมีส่วนต่างๆ ของร่างกายที่ไวต่อความรู้สึก และได้เรียกส่วนนี้ว่า อีโรจีเนียสโซน (Erogenous Zones) แบ่งออกเป็นส่วนต่างดังนี้
- ส่วนปาก ช่องปาก (Oral)
- ส่วนทางทวารหนัก (Anal)
- และส่วนทางอวัยวะสืบพันธุ์ (Genital Organ)
ฉะนั้น ฟรอยด์กล่าวว่าความพึงพอใจในส่วนต่างๆ ของร่างกายนี้ เป็นไปตามวัย เริ่มตั้งแต่วัยทารก จนถึงวัยผู้ใหญ่ ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ขั้น คือ
1. ขั้นปาก (Oral Stage)
2. ขั้นทวารหนัก (Anal Stage)
3. ขั้นอวัยวะเพศ (Phallic Stage)
4. ขั้นแฝง (Latence Stage)
5. ขั้นสนใจเพศตรงข้าม (Genital Stage)


ครั้งที่ 2 วันพฤหัสบดี ที่24 มิถุนายน 2553

วันนี้ได้เรียนนิยามของสื่อ สื่อคืออะไร ซึ่งสื่อเป็นตัวกลางในการเรียนรู้ จากผู้สอน(อาจารย์)ส่งถึงไปยังผู้รับ(นักศึกษา) และได้จัดกลุ่ม5คนเพื่อตอบคำถามดังต่อไปนี้
1.เด็กปฐมวัยคือ เด็กที่มีอายุตั้งแต่แรกเกิด-6ปี
2.เราควรจะศึกษาเด็กปฐมวัยอย่างไรถึงจะรู้ว่าเด็กเป็นอย่างไร ศึกษาเด็กโดยการสังเกตพฤติกรรม
3.เด็กปฐมวัยเรียนรู้อย่างไร เรียนรู้จากสิ่งของจำลอง ในห้องเรียน สิ่งแวดล้อม และอื่นๆ
4.นักทฤษฎีที่รู้จก อิริคสัน เพียเจท์ บรูเนอร์ ฟรอยด์ แบนดูรา มอนเตสเซอรรี่ และอื่นๆ

ครั้งที่ 1 วันพฤหัสบดี ที่17 มิถุนายน 2553

วันนี้ได้เรียนเป็นวันแรก อาจารย์ได้สั่งให้ทำบล็อกแสดงผลงานแทนทำแฟ้ม เพื่อลดภาวะโลกร้อน ทำสมุดประวัติส่วนตัว อาจารย์ได้บอกรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องที่จะเรียน และมารยาท ความมีวินัย กฏระเบียบของมหาวิทยาลัย และอาจารย์ได้พูดถึงการเข้าห้องเรียน อาจารย์ได้พูดถึงความตั้งใจในห้องเรียน ความเข้าใจในการเรียน